มหาราชนักประดิษฐ์
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย
 
    หน้าแรก          พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย      วันเทคโนโลยีของไทย       รางวัลเทิดพระเกียรติ         พระจอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน         พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

กำเนิด  “วันนักประดิษฐ์”
                ผู้เขียนเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นวันสำคัญยิ่งจึงได้ทำหนังสือในฐานะนายกสมาคมการ
ประดิษฐ์ไทย  เสนอต่อรัฐบาล ซึ่งมี นายชวน หลักภัย  เป็นนายกรัฐมนตรีให้เทิดพระเกียรติ
พระองค์เป็น  “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”  และสถาปนาวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี
เป็น  “วันนักประดิษฐ์”
                ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันนักประดิษฐ์ ตามข้อเสนอของสมาคมการประดิษฐ์ไทย” 
และได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลาง
ประสานการจัดงานวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติทุกปี (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะ
รัฐมนตรี ที่ นร. ๐๑๐๔/๙๔๖๑ เรื่อง การสถาปนา  “วันนักประดิษฐ์”  ลงวันที่  พฤษภาคม
๒๕๓๗) และรัฐมนตรีว่าการแระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้มอบ
หมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการจัดงาน
 “วันนักประดิษฐ์”  ทุกปี ตั้งแต่บัดนั้น

เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ
                แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ 
“กังหันน้ำชัยพัฒนา”
  เป็นผลสำเร็จแล้วก็ตาม แต่พระองค์มีพระราชปณิธาน
อันแน่วแน่ที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีขนาดเล็กกะทัดรัด ขนย้าย
สะดวก มีต้นทุนในการจัดสร้างต่ำในปี ๒๕๓๓  ได้พระราชทานพระราชดำริ
ให้มีการจัดสร้างเครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ (Chaipattana
Water-Air Pump Type Aerator. Model RX-5C”  หรือเรียกย่อว่า  “เครื่องกล
เติมอากาศ แบบ RX-5C”
  ขึ้น โดยพระราชทานลายพระหัตถ์ร่างต้นแบบขึ้น
เป็น ๓ แบบ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ ให้กรมชลประทาน
ไปดำเนินการตามพระราชดำริ อักษรย่อ  “R”  มาจาก  “Royal”  อักษร X คือ 
“Experiment”  และ หมายเข ๕ คือลำดับที่ ๕ ส่วนอักษร C คือ แบบที่ ๓
     กรมชลประทานได้รับสนองพระราชดำริดำเนินการสร้างและทดสอบ
ประสิทธิภาพเครื่องกลเติมอากาศทั้ง ๓ แบบ ได้ปรับปรุงแก้ไขจนสรุปได้ว่า
แบบ RX-5C มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อปี ๒๕๔๒ เครื่อง RX-5C มีขนาดเล็ก
กะทัดรัดเหลือความสูงเพียง ๖๐ เซนติเมตร อาศัยแรงขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
ขนาด ๒ แรงม้า ที่ ๓,๐๐๐ รอบ/นาที วัดกระแสไฟฟ้าได้ ๒.๘ แอมแปร์
สามารถถ่ายเทออกซิเจนได้ประมาณ ๑.๘-๒.๐ กิโลกรัม/แรงม้า/ชั่วโมง
ใช้ระบบเวนจูริ (Venturi) ดูดอากาศมาผสมกับน้ำแล้วเป่าออกไป มูลนิธิ
ชัยพัฒนา ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร
ในพระปรมาภิไธยของพระองค์และมูลนิธิได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
เมื่อวันที ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ในชื่อ  “เครื่องกลเติมอากาศ
แบบอัดอากาศและดูดน้ำ”
  ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศฉบับที่ ๒
ของพระองค์ เครื่องกลเติมอากาศ แบบที่ ๒ นี้ ได้รับการเผยแพร่ให้ทาง
ราชการและประชาชนนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์อย่างสูง
ในการบำบัดน้ำเสียที่ทรงประสิทธิภาพและด้วยความประหยัดตามแนว
พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

  Next